วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค
คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย พร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
ตอบ ต่างกัน  กฎหมายทั่วไปคือ กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด ตัวอย่างเช่น การกระของนายสมชาติลักทรัพย์ของนายสมชาย คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยต้องการจะครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เพื่อตนเองเอาไปขายหรือให้กับบุคคลอื่นก็ตามแต่ ผู้ที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์จะต้องถูกระวางโทษไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาท
                กฎหมายกาศึกษา  คือ กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้อง กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตัวอย่างเช่น การกระทำทารุณกรรมต่อเด็กของครูผู้สอน เป็นการกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก มาตราที่ 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการกระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามมาตรา 78 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550))
ตอบ มีสาระสำคัญ คือ ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง 2 มาตรา คือ
            มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
           มาตรา 81 รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ และในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
           มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
           มาตรา50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับมี 20 มาตรา มีความสำคัญคือเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติที่ได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี
มาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ มีดังนี้
มาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
มาตรา 9 ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 13 ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวังโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 14 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9 ต้องระวังโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 15 ผู้ใดปราศจากเหตุอันสมควร กระทำด้วยการใดๆอันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวังโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ สามารถปฏิบัติการสอนได้เนื่องจากตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 43 ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกระทรวง ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)     ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนแก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะเป็นวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(๒)   ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(๓)    นักเรียน นักศึกษาหรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
มาตราที่ 46 ว่าด้วยการรับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ การประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชนเป็นการประพฤติที่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการกระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามมาตรา 78 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ กฎหมายการศึกษาที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะใช้ในสถานศึกษา ได้แก่
                1.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เนื่องจากการสอนในสถานศึกษาเราต้องทราบถึงกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กเพื่อไม่ให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามมาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการกระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
                2.กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเราควรจะทราบถึงการกำหนดความประพฤติของนักเรียนด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงข้อห้ามของนักเรียนในด้านต่างๆ

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้พอสังเขป

ตอบ การนำเว็บบล็อกมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากนักศึกษาจะได้ศึกษาและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา นอกเหนือจากห้องเรียน เป็นการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ในการศึกษาค้นคว้าความรู้ในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างแพร่หลายจึงเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ใช้เทคโนโลยีอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านการศึกษาและเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของวัยนักศึกษาเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น